วิธีการสอน ^^"


“You don’t want to be just well adjusted to injustice and well adapted to indifference.  You want to be a person with integrity who leaves a mark on the world.”

Cornel West in Letter to My Countrymen by Brother Ali



The Grammar-Translation Method
                     
                 วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลได้รับแนวคิดมาจากการสอนภาษากรีกและลาตินในศตวรรษที่ 19 จุดเน้นของการสอนวิธีนี้คือ การพัฒนาความสามารถในการอ่านวรรณคดีที่มีชื่อเสียงและการฝึกอ่านเขียนภาษาเป้าหมายให้ถูกต้อง

         ลักษณะเด่นของวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลคือ
          1. เน้นการเขียนที่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ทางภาษา
          2. แกรมม่าเป็นตัวชี้วัดว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          3. ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวกับการแปลเป็นสิ่งสำคัญ
          4. ครูใช้ภาษาแม่ในการเรียนการสอน
          5. ไม่เน้นทักษะ พูดและฟัง ซึ่งทำให้วิธีนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นวิธีที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อประโยชน์การดำรงชีวิต
หลักการ คือ รู้กฎไวยากรณ์ รู้การแปลประโยคและข้อความของภาษาเป้าหมาย ท่องคำศัพท์ เรียนรู้การเปิดพจนานุกรมภาษาอังกฤษ และสอนประโยคง่ายๆ เป็นภาษาเป้าหมาย    
                ขั้นตอน คือ สอนคำศัพท์  อ่าน-ตอบคำถาม ท่องศัพท์ เขียน แปล
                เทคนิค คือ แปลบทอ่าน อ่าน-ตอบ เรียงคำศัพท์ ให้โครงสร้างมาก่อนดูตัวอย่าง การท่องจำ เติมคำในช่องว่าง เขียนความเรียง



The Direct Method

สอนภาษาเป้าหมายเท่านั้น ไม่มีภาษาแม่
                เน้นคำศัพท์และประโยคในชีวิตประจำวัน
                ถาม-ตอบ ระหว่างครูกับนักเรียน
                สอนการฟังพูด ย้ำเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้อง
                ต้องสาธิต แสดงท่าทางประกอบ
                เมื่อมีการพูดผิดต้องแก้ไขให้ถูกต้องทันที
                ไม่ใช้คำเดี่ยว ต้องใช้เป็นประโยค
                                เทคนิค คือ การออกเสียง  ถาม-ตอบ ฝึกบทสนทนา ฟังบทสนทนาแล้วสรุป เติมคำในช่องว่าง แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง เขียนตามคำบอก วาดแผนที่ต่างๆ และเขียนย่อหน้า



Audiolingual Method  (ALM)

เป็นการเน้นฟังพูด
                บทเรียนทั้งหลายจะเป็นบทสนทนา มีการท่องจำ ต้องเรียนซ้ำกันมากๆ เพราะโครงสร้างของไวยากรณ์จะเน้นการฝึกซ้ำ ไวยากรณ์จะสอนแบบดูตัวอย่างก่อนโครงสร้าง ใช้ภาษาแม่แต่น้อยมาก
                ขั้นตอน คือ นักเรียนฟังบทสนทนา หลังจากนั้นก็ฝึกบทสนทนาหลายๆ ครั้ง ฝึกปรับและแต่งบทสนทนาเป็นของตนเอง
                เทคนิค คือ จำบทสนทนา ถาม-ตอบกันต่อไปเรื่อยๆ คล้ายลูกโซ่ เปลี่ยนประโยคบอกเล่า ปฏิเสธและคำถาม สลับกันในการสนทนา เติมคำในช่องว่าง มีเกมเกี่ยวกับไวยากรณ์


The Silent Way


                    วิธีการสอนแบบเงียบ ๆ (ครูเงียบ เด็กพูด)
ผู้เรียนต้องรับผิดชอบการเรียนของตนเอง ต้องการมีการตั้งสมมติฐาน เด็กจะเรียนรู้ได้จากการค้นพบดีกว่าการท่องจำ ,เด็กจะเกิดได้นั้นต้องมีสื่อมาส่งเสริม , เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ในสิ่งที่เด็กเรียน ,ครูจะสอนการออกเสียงเล็กน้อย และจากนั้นนักเรียนสามารถคิดและเรียนรู้ด้วยตนเอง 

                   ทฤษฎีของ The Silent Way
1.  ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีหากได้ค้นพบและสร้างการเรียนรู้นั้นด้วยตนเองมากกว่าการท่องจำ
2.  การเรียนรู้จะได้รับการสนับสนุนจากสื่อ
3.  ให้เด็กได้แก้ปัญหา



Suggestopedia



       โดยธรรมชาติแล้ว นักเรียนจะปิดกั้นตนเอง ไม่ค่อยกล้าแสดงออก
                หลักการ คือ        
   ต้องจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้ผ่อนคลาย
   ถ้านักเรียนเชื่อใจครู เคารพครู นักเรียนจะได้รับข้อมูลดีกว่า
   ครูต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน
   ครูจะต้องมีการบูรณาการ
   ครูสอนบทสนทนา ไวยากรณ์ คำศัพท์ จะมีดนตรี มีเพลงเข้ามาสร้างความเพลิดเพลิน
                ขั้นตอน คือ           
  มีกิจกรรมหลากหลาย ร้องเพลง , เกม , แสดงละคร

Community Language Learning



       คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ดูผู้เรียนทั้งหมดภายในห้อง
      หลักการ คือ     
 ผู้เรียนคือผู้เข้ารับบริการ  ครูคือผู้ให้คำปรึกษา
 นักเรียนใช้ภาษาแม่ได้ และครูช่วยแปล
 สอนไวยากรณ์และคำศัพท์
 นักเรียนใช้ภาษาเป้าหมายได้อย่างอิสระ
 ในท้ายของชั่วโมงเรียน ให้ครูและนักเรียนมาคุยกัน เกี่ยวกับการเรียน ความรู้สึก
 มีกิจกรรม เน้นไวยากรณ์ และการออกเสียงประโยค
 มีการอัดเทปบทสนทนาของผู้เรียนที่ได้สนทนาต่อๆ กัน ครูจะเป็นผู้ควบคุมทั้งหมด 


Total Physical Response

                          การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางนี้คิดขึ้นมาโดย James Asher ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาชาวอเมริกัน วิธีสอนแบบนี้อิงแนวคิดที่ว่า การสื่อความหมายของภาษาต่างประเทศ อาจทำได้โดยการปฏิบัติ หรือใช้กริยาอาการประกอบ ผู้เรียนจะจำได้ดี ถ้าได้ปฏิบัติหรือแสดงการโต้ตอบด้วยการเรียนภาษาควรเรียนกลุ่มคำที่มีความหมายไม่ใช่การเรียนคำโดด ๆ เน้นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนผู้เรียนควรได้รับการฝึกฟังให้เข้าใจก่อนที่จะฝึกพูด ผู้เรียนจะเริ่มพูด เมื่อพร้อมที่จะพูดผู้เรียนจะเรียนรู้ภาษาจากการสังเกตและการกระทำของผู้อื่นและจากการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การที่ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้ดียิ่งขึ้น การแก้ไขเมื่อผู้เรียนทำผิดจึงควรทำอย่างนุ่มนวล ไม่โจ่งแจ้งโดยผู้สอนอาจพูดซ้ำ หรือปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่างการแก้ไขในรายละเอียดอาจต้องชะลอไว้จนกว่าผู้เรียนจะอยู่ในระดับสูงขึ้น          

Communicative Language Teaching


                        วิธีนี้เป็นการสอนแบบกระบวนการ ซึ่งจะไม่พอสำหรับเด็ก หากเรามีแต่ไวยากรณ์และคำศัพท์ เพราะต้องเป็นกระบวนการ เด็กจะต้องนำไปประยุกต์ใช้ และจะสื่อสารได้อย่างเข้าใจ ต้องมี โครงสร้างประโยคและไวยากรณ์ , มีความเข้าใจในภาษาทางสังคม , เข้าใจความสัมพันธ์และสามารถนำมาเชื่อมโยงกับประโยคต่างๆ , ใช้ภาษาท่าทางและการเขียน
                ต้องรู้ว่าจะใช้ภาษาอย่างไร มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
                รู้ว่าจะใช้ภาษาอย่างไรกับบุคคลแบบใด           
                จะต้องรู้กลยุทธิ์ในการสื่อสารที่แตกต่างกันไป
                คุณลักษณะของวิธีนี้คือ
              1.มีเป้าหมายโดยรวม
                 2.ความสัมพันธ์ของ form, function
              3.เน้นภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
                 4.เน้นการใช้สื่อของจริง
                 5.เด็กต้องเกิดคามตระหนักในกระบวนการเรียน ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนของผู้เรียนเอง
                 6.บทบาทของครูคือ เป็นผู้อำนวยความสะดวกและแนะนำในทางที่ถูกต้อง
                 7.บทบาทของนักเรียน คือ ต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น  รับผิดชอบงานของตน

หลักการ
                1.ทำให้เกิดการสื่อสารจริงๆ ให้ได้
                2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบ
                3.ต้องอดทนกับความผิดพลาดของผู้เรียน
                4.กิจกรรม ต้องให้ผู้เรียนพัฒนาภาษาได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง
                5.พยายามเชื่อมโยงคำศัพท์เข้าด้วยกัน
                6.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นพบกฏเกณฑ์ไวยากรณ์เอง

Teaching Steps :  PPP approach (3Ps)
1.Presentation  = การนำเสนอ  การสอนเนื้อหาแก่ผู้เรียน
2.Practice  = การฝึก แต่มีครูควบคุมอยู่
3.Production  = การฝึกแบบอิสระ  เน้นการนำเนื้อหาไปใช้ในสถานการณ์จริง

ส่วน  Wrap-up  = การสรุปบทเรียน

Content-based Instruction



                       เป็นการสอนที่ให้นักเรียนได้รับภาษาไปด้วยขณะที่กำลังสอนเนื้อหานั้นๆ เน้นการใช้ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ใช้ภาษาเป้าหมายในการสอน ซึ่งภาษาจะเรียนได้ดีนั้นเมื่อใช้เป็นสื่อกลางที่นักเรียนสนใจ ครูจะต้องสอนจากยากมาง่ายเป็นขั้นๆ ไป ถ้านักเรียนต้องการจะเรียนรู้เนื้อหาจริง เขาก็ต้องการคนมาช่วยในเรื่องของภาษา ผู้เรียนจะเรียนรู้ภาษาเนื้อหาจากสื่อของจริง ซึ่งจะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร

                       การสอนแบบ CBI มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ
- การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)
- การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)


Task-based
                      
                
                    วิธีนี้จะดูความสมบูรณ์ของงานมากกว่า งานนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์และชิ้นงานที่ชัดเจน มีการเตรียมซ้อมกันก่อนทำงานจริงๆ เริ่มจากการซ้อมทำงานเป็นห้องก่อนมาทำงานคนเดียว ให้เด็กได้เรียนรู้การทำงานไปก่อน  วิธีนี้ไม่ต้องคำนึงถึงภาษา ครูสอนภาษาอะไรก็ได้ที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจมากที่สุด  ครูจะช่วยเมื่อนักเรียนพูดไม่ถูกต้องและแก้ไขให้ทันที ครูจะต้องแยกขั้นตอนการทำงานได้อย่างชัดเจน และนักเรียนต้องมีส่วนร่วมทุกคน เปิดโอกาสให้นักเรียนออกแบบเอง เน้นคำศัพท์

 หลักการ             
 1.กระตุ้นให้คิดทำงานแบบกลุ่ม
2.ผู้เรียนอยู่กลุ่มเดียวกันระยะหนึ่งเพื่อจะได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน
3.ความพยายามของใครคนหนึ่งทำงานได้สำเร็จ ก็จะได้รับรางวัลทั้งกลุ่ม
4.สอนเรื่องทักษะทางสังคม การพูดคุยกัน ทำงานอย่างไรให้ราบรื่น
5.ภาษาเป้าหมายมีความสำคัญในการสื่อสาร
6.รับผิดชอบงานของตนเองจากกลุ่ม
7.นำงานของตนเองมาแบ่งปันกับเพื่อนในกลุ่ม
8.สมาชิกทุกคนต้องมีถูกกระตุ้นความรู้สึกให้มีส่วนร่วม
 เรียนรู้ในการทำงานกลุ่ม ส่งเสริมสภาวะการเป็นผู้นำ
 9.ครูต้องสอนการทำงานร่วมกันด้วย

Cooperative Learning

               การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือมิใช่เป็นเพียงจัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ทำรายงาน ทำกิจกรรมประดิษฐ์หรือสร้างชิ้นงาน  อภิปราย ตลอดจนปฏิบัติการทดลองแล้ว ผู้สอนทำหน้าที่สรุปความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องพยายามใช้กลยุทธ์วิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวลสิ่งที่มาจากการทำกิจกรรมต่างๆ จัดระบบความรู้สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นหลักการสำคัญ
                  เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมากยิ่งขึ้น  ในบทนี้จะกล่าวถึง รายละเอียดของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบไปด้วย ความหมาย  วัตถุประสงค์  องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ  ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนเป็นกลุ่มแบบดั้งเดิม  ขั้นตอนการจัดกิจกรรม  เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ  วิธีการเรียนแบบร่วมมือ  ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ เงื่อนไขการเลือกวิธีการสอนแบบต่าง ๆ  และเหตุผลของการผสมผสานการสอนแบบต่าง ๆ  และสรุปท้ายบทรวมทั้งในตอนท้ายจะมีกิจกรรมและคำถามท้ายบท

Whole Language Approach


ความเป็นมา 
       การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach) เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่เสนอแนวคิดใหม่ในการสอนภาษา เกิดจากความพยายามของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ ซึ่งมองเห็นปัญหาการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ซึ่งเกิดจากการสอนที่ครูมุ่งเน้นสาระทางภาษาเป็นหลัก ทําให้การเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติคือไม่เหมาะกับวัย ความสนใจและความสามารถของเด็ก  และเมื่อคํานึงถึงประโยชน์ที่เด็กจําเป็นต้องใช้ภาษาในการเรียนรู้และการ
สื่อสารในชีวิตจริง พบว่าการสอนภาษาแบบเดิม (traditional approaches) ไม่เน้นความสําคัญของประสบการณ์และภาษาที่เด็กใชในชีวิตจริง จึงไม่ได้ให้โอกาสเด็กเรียนรู้ภาษาและใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างมีความหมายเท่าที่ควร 

กระบวนการ 
      บรรยากาศการเรียนภาษาในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผนคือคิดด้วยกันว่าจะทําอะไร ทําเมื่อไร ทําอย่างไร จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร ใครจะช่วยทํางานในส่วนใด 
        การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ และแผนระยะสั้น (short-range plans)ซึ่งเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม 
        บทบาทของครูจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ 
ครูเลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ ซึ่งครูไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออก เช่น การอ่านแบบเรียนเล่ม เล่มที่เคยนิยมใช้มาแต่เดิม    ารประเมินผลที่ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงานถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา



Multiple Intelligences



           พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง

2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร

3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น

4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม

5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง

6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ

7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย

8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ